มะพร้าวเป็นไม้ยืนต้นที่อยู่คู่คนไทยมานาน และถือเป็นพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน เนื้อมะพร้าวเป็นส่วนผสมของอาหารไทยอันโอชะ หลายตำรับ หลายเมนูที่เป็นไทยแท้ๆ จึงขาดมะพร้าวไม่ได้ โดดเด่นที่สุดคือขนมไทย มะพร้าวเป็นส่วนผสมหนึ่งในสามของขนมไทยแท้ๆ ที่ประกอบด้วยแป้ง น้ำตาล และกะทิ
ส่วนอื่นๆ ของมะพร้าวก็นำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เช่น ทางมะพร้าว ก็นำมาทำไม้กวาดและไม้กลัด บางท้องถิ่นใช้ใบมะพร้าวมุงหลังคา ให้ความรู้สึกเย็นสบาย
“น้ำมันมะพร้าว” ปัจจุบันรู้จักกันดีในฐานะตัวช่วยเสริมสุขภาพและความงาม นาทีนี้ น้ำมันมะพร้าวจึงกลายเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงในแวดวงสุขภาพทางเลือกที่ใครๆ ต่างสนใจ
น้ำมันมะพร้าวตามตำรา
สำหรับคนโบราณแล้ว น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ที่ดีต้องได้มาจากมะพร้าวที่แก้คาต้น และหล่นลงมาเอง เพราะนั่นหมายความว่า เนื้อในแห้งสนิท ไม่มีน้ำมะพร้าวหลงเหลืออยู่ เนื้อมะพร้าวแห้งหนึ่งผลสามารถสกัดน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ออกมาได้เพียงร้อยละ 20 ? 30 เท่านั้น ในทางอายุรเวทถือว่าน้ำมันมะพร้าวจากมะพร้าวที่แก่คาต้นนี้ เป็นน้ำมันที่มีฤทธิ์ทางยาที่ดีที่สุด ใช้นวดกระดูก ช่วยแก้ปัญหารอยไหม้จากแสงแดด และช่วยบำรุงผิวพรรณได้
น้ำมันมะพร้าวที่วางขายกันทั่วไปอาจมีหลายยี่ห้อ ทำให้เราตัดสินใจเลือกไม่ถูกว่าแบบไหนดีกว่ากัน เรามีวิธีการสังเกตน้ำมันมะพร้าวที่ได้คุณภาพมาฝากค่ะ
* ต้องมีความใส ไม่มีสี ลักษณะโปร่งแสง ไม่มีการตกตะกอน แต่การสังเกตจากข้อนี้อาจไม่ชัดเจน เพราะบางยี่ห้อก็บรรจุในขวดพลาสติกขุ่น หรือมีสี แต่ถ้าบรรจุขวดแก้วก็จะสังเกตได้ง่ายกว่า
* ต้องมีกลิ่นหอมของมะพร้าว ไม่มีกลิ่นหืน หรือเปรี้ยว แม้ว่าจะมีการเปิดใช้หลายครั้งแล้ว แต่ด้วยกระบวนการผลิตในบางยี่ห้อ อาจมีการดัดแปลงโดยใช้น้ำหอมสังเคราะห์กลิ่นมะพร้าว หรือกลิ่นมะพร้าวน้ำหอมเข้าไป ทำให้มีกลิ่นหอมมากในตอนเปิดขวดแรกๆ แต่หลังจากนั้นความหอมจะจางลง กลายเปลี่ยนเป็นเหม็นเปรี้ยว ซึ่งจะทำให้อายุของน้ำมันมะพร้าวอยู่ได้ไม่นาน
* ต้องความหนืดน้อย สามารถกลืนลงคอได้อย่างง่ายดาย มีความรู้สึกเหมือนละลายในปาก ไม่ให้ความรู้สึกเลี่ยน หรือเมื่อนำไปทาผิวแล้ว สามารถซึมสู่ผิวได้เร็ว ไม่ทิ้งคราบน้ำมันลอยอยู่บนผิว
สรรพคุณของน้ำมันมะพร้าวที่มีต่อสุขภาพ
1. กินแล้วไม่อ้วน
2. กระตุ้นการขับถ่าย
3. บำรุงกำลัง
4. ช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคกลุ่มเสื่อม
5. บำรุงกระดูก
6. บำรุงครรภ์
7. ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น
8. ลดการอักเสบและติดเชื้อ
9. บำรุงสุขภาพในช่องปาก
10. ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง
ขอบคุณข้อมูลจาก kapook